บุคคลสำคัญผู้ทรงอิทธิพลของโลก ซึ่งในความจริงมีหลากหลายอาชีพ และบทบาทที่แตกต่างกัน ... น้องดีไซน์จึงรวบรวมบางส่วนมาให้พี่ๆ เพื่อนๆ ได้ศึกษากัน แต่หากใครมีบุคคลนำเสนอ Comment บนโพสนี้ได้เลยนะครับ แฟนเพจจะได้ร่วมศึกษาด้วย
ดร.ซุน ยัดเซ็น ผู้นำแห่งการปฏิวัติ
ดร.ซุน ยัดเซ็น เกิดมาในครอบครัวของเกษตรกรผู้ยากจนในจังหวัดเซียงซาน ในมณฑลกวางตุ้งของจีนตอนใต้ ในปี 1879 “ซุน เหมย” (พี่ชายของเขาซึ่งก่อนหน้านี้เคยอพยพไปฮาวายในฐานะคนงาน) พาเขาไปที่โฮโนลูลูไปเรียนต่อที่โรงเรียนสอนศาสนาชาวอังกฤษเป็นเวลาสามปี และที่วิทยาลัยโอวาฮูอีกหนึ่งปี เป็นครั้งแรกที่เขาได้เข้ามาสัมผัสกับอารยธรรมจากประเทศตะวันตก หลังจากพี่ชายของเขาคัดค้านความชอบของเขาที่มีต่อศาสนาคริสต์ ทำให้ส่งซุนกลับไปที่บ้านเกิดของเขาในปี 1883 เพื่อไปศึกษาต่อในฮ่องกงในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ในขณะที่เขารับการบัพติสมาโดยผู้สอนศาสนาชาวอเมริกันในช่วงปลายของปีเดียวกันนี้เอง
ในปี 1884 ซุนได้เดินทางย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนรัฐบาลกลาง (ต่อมารู้จักกันในนาม Queen’s College) และแต่งงานกับ “หลู มู่เจิน” ซึ่งเป็นการแต่งงานที่จัดขึ้นของผู้ใหญ่ พวกเขาได้ให้กำเนิดบุตรอีก 2 คน เป็นเด็กชาย 1 และเด็กหญิงอีก 1 คน หลังจากการเดินทางไปฮาวายอีกครั้ง ซุนได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนแพทย์โรงพยาบาลกวางโจวในปี 1886 จนกระทั่งได้ย้ายไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์จีนในฮ่องกง ซึ่งเขาได้จบการศึกษาในปี 1892 ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้เรียนมาเพื่อประกอบอาชีพการเมือง ซุนยังคงมีความทะเยอทะยานที่จะหาวิธีแก้ปัญหากับประเทศจีน ที่ยึดติดกับวัฒนธรรมดั้งเดิมภายใต้ราชวงศ์ชิง ซึ่งเขาคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ต้องก้าวผ่านไปเพื่อให้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น
ก้าวสู่อาชีพการเมืองที่เปลี่ยนชะตากรรมของประเทศ
หลังจากที่ ดร.ซุน ได้ตัดสินใจเด็ดขาดจึงทิ้งอาชีพหมอเพื่อเดินทางขึ้นเหนือ เพื่อไปตามหาความสำเร็จทางการเมืองในปี 1894 เขาได้ส่งจดหมายไปถึง “หลี่ หงจาง” ข้าหลวงใหญ่แห่งเหอเป่ย์ เพื่อบอกถึงแนวทางที่จะช่วยให้ประเทศจีนจะกลับมาแข็งแกร่งได้อีกครั้ง แต่สิ่งที่เขาได้รับกลับมาเป็นเพียงความไม่ใส่ใจใยดี ทำให้เขาเดินทางกลับไปที่ฮาวายอีกครั้งในเดือนตุลาคมปี 1894 และก่อตั้งสมาคมที่เรียกว่า “ชิงจงฮุย” ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นบรรพบุรุษของกลุ่มคณะปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่สุดของจีน สมาชิกทั้งหมดมาชาวพื้นเมืองของมณฑลกวางตุ้ง และจากชนชั้นรากหญ้าเช่น เสมียน ชาวนา ช่างฝีมือ
ภารกิจของคณะปฏิวัติได้สัมฤทธิ์ผลเมื่อ ดร.ซุนได้แอบเจรจากับหยวนซื่อไข่จนได้โค่นอำนาจแมนจูลงได้ในที่สุด ในวันที่ 20 มีนาคม ปี 1912 เจ้าหน้าที่ของหยวนซื่อไข่ได้ลอบสังหาร “ซ้ง เจียวเรน” ที่สถานีรถไฟของเซี่ยงไฮ้ ซุนจึงได้รีบเดินทางกลับมาเพื่อเรียกร้องให้ผู้ที่รับผิดชอบถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ในขณะที่ตัวหยวนเองได้ปฏิเสธที่จะยอมรับในการกระทำของตน แถมยังได้ปลดเขาออกจากคณะปฏิวัติในวันที่ 15 กันยายน 1913 พร้อมกับสั่งให้จับกุมตัว ทำให้ ดร.ซุน กลายเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่เดินทางหนีไปยังประเทศญี่ปุ่น